,

Juba South Sudan

Juba South Sudan, East Africa

Saturday, May 12, 2018

ทหารไทยในซูดานใต้ TH HMEC UNMISS

       ข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งทั้งเรื่องการเมืองการทหารหรืออาจจะเป็นที่มีสาระทางการข่าว ในช่วงเมื่อต้นเดือนมกราคม มีข่าวที่เป็นข่าวมานานแล้วเกี่ยวกับทหารไทยทหารไทยจำนวน 1 กองร้อย ทหารช่างก่อสร้าง (ทางระดับ TH HMEC )เข้าร่วมกิจกรรม United Nations Mission in South Sudan (UNMISS) หรือ กองกำลังสันติภาพในประเทศ ซูดานใต้



UNITED NATIONS MISSION IN SOUTH SUDAN (UNMISS)

    ข่าวนี้นำมาเขียนเรื่องราวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเดินทางของทหารไทยในครั้งนี้ ที่จริงการเขียนเรื่องราวควรที่ผู้เขียนจะหลีกเลี่ยงเกียวกับการเมืองและการทหารที่มีมาตลอดแต่เมื่อได้อ่านข่าวนี้แล้วเพื่อเป็นข้อมูลแนวทางการปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมจึงต้องเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจและแนวทางกับทหารไทยที่จะไปทำภารกิจที่นั่นซึงมีคนไทยมาร่วมพัฒนาทำงานสร้างความเจริญอยู่ที่จูบาประเทศซูดานใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

Armed Helicopter

      ประเทศเซาท์ซูดาน เป็นประเทศน้องใหม่ลำดับที่ 193 ของโลกแยกออกมาจากประเทศซูดานเมื่อปี ค.ศ.2011 เฉลิมฉลองการเป็นเอกราชได้ไม่กี่ปีก็ต้องเกิดสงครามระหว่างประธานาธิบดีและรองประธานาบดีจนทำให้ทั้งประเทศเกิดสงครามที่แทบเรียกกันว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จนทำให้มีคนล้มตายและประชาชนอพยพพลัดถิ่นฐานจำนวนมาก

World Food Programme

     ทหารขององค์การสหประชาชาติที่ปฏิบัตรภารกิจในประเทศนี้มีมานานหลายปี การปฏิบัติงานจะเน้นฟื้นฟูและป้องกันประชาชนที่เดือดร้อนจากการสู้รบจะไม่มีภารกิจที่ต้องปฏิบัติการรบกับกลุ่มที่ก่อให้เกิดสงครามยกเว้นการป้องกันฐานที่มั่นค่าย ททารของเพื่อนบ้านเอเซียที่เคยมาและปฺฎิบัติการที่ซูดานใต้อย่าง กัมพูชา อินโดนีเซีย เนปาลและบังคลาเทศ

     ซูดานใต้ เจ้าหน้าที่สหประชาชาติจากไทยไม่ใช่คั้งแรกที่มาปฎิบัตการไม่นานมานี้ได้มีตัวแทนตำรวจของสหประชาชาติจากประเทศไทยที่เป็นนายตำรวจชายและหญิงมาปฏิบัตรที่นี่เช่นกันในปี ค.ศ. 2015 ในตอนนั้นจำนวนที่ปฏิบัตรงานมีเพียงไม่กีนายจึงจำเป็นต้องแยกปฎิบัตรงานสนับสนุนกันตามหน่วยต่างๆ ทั้งในกรุงจูบาและตามเมืองในแต่ละรัฐของซูดานใต้

เฮลิคอปเตอร์ ลำเลียง UNMISS

     ประเทศซูดานใต้ที่เกิดสงครามมาในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ในช่วงหลังกำลังเจรจาสันติภาพระหว่างทั้งสองฝ่าย สหประชาชาติอนุญาติให้ประชาชนที่อยู่ตามค่ายผู้ลีภัยอย่างเช่น Juba Wau Renk หรือบริเวณชายแดนในประเทศ ยูกานดา ที่สมัคใจกลับเข้าบ้านที่อยู่อาศัยในเขตปลอดภัยได้ตามความต้องการจึงมีการทะยอยกลับกันมาตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดตามแผนผู้อพยพเพื่อความสงบสุขและการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการค้าขายลงทุนกิจการร้านค้า ร้านอาหารสถานที่พักผ่อนในกรุงจูบา

      การเดินทางปฏิบัติภารกิจกับทำยังไงจะมีชื่อเสียงไม่เสียเวลาการเดินทางมาปฎิบัตรภารกิจ ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ติดตามตอน 2 

    

No comments:

Post a Comment